GULF CMWTE สานพลังชุมชนพื้นที่ป่าสงวนขุนน้ำแม่กวง ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ปฏิบัติการ “ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์ ”

GULF CMWTE สานพลังชุมชนพื้นที่ป่าสงวนขุนน้ำแม่กวง ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ปฏิบัติการ “ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์ ”

 

วันที่ 11 ธันวาคม 2567 มีการจัดโครงการ “ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์ ” ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องในพื้นที่ ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย บริษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จัด (มหาชน) หรือ GULF ร่วมกับ บริษัทเชียงใหม่ เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด ( CMWTE ) บริหารโครงการโดย นายจิรศักดิ์ มีสัตย์ ผอ.บริหารฝ่ายชุมชนสัมเพันธ์ ผู้รับผิดชอบโครงการและวิทยากร โดย ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ นายพงษ์พิเชษฐ์ ไชยเวช เจ้าหน้าที่ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ (GULF) ร่วมกับ ผู้นำชุมชนพื้นที่ป่าสงวนขุนน้ำแม่กวง ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โดยผู้นำชุมชนจาก 3 หมู่บ้าน ได้แก่ นส.จันทร์จิรา จำปาอิน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านป่าตึงน้อย นายเสน่ห์ ธรรมภักดี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านป่ายางงาม นายศุภกิจ พิลัยหล้า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บ้านป่าไม้แดง ตำบลป่าป้อง นายเสน่ห์ ธรรมภักดี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านป่ายางงาม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ อดีตกำนัน นายอำนวย ทิพย์จักร ผู้นำอาวุโส ที่สืบทอดเรื่องของการอนุรักษ์ป่าและดูแลป่ามาจนถึงปัจจุบัน และผู้นำอาวุโสชุมชนอีกหลายท่าน

กิจกรรมในวันนี้ ต่อเนื่องจากการขยายโครงการ “คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์ “ โดยการส่งเสริมและสนับสนุน จาก GULF CMWTE ซึ่งมีนโยบายในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และได้ให้ความสำคัญต่อขบวนการของชุมชนในการแก้ปัญหาไฟป่า และ มลภาวะอากาศ PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ฯ รวมถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ระบบนิเวศในระยะยาว จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมกับผู้นำชุมชน ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในช่วงดือนตุลาคม-ถึงพฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดอบรมความรู้และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน โดยร่วมกับ กำนันตำบลป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด ฯที่บ้านทุ่งยาว หมู่ 8 ฯ และ กิจกรรมในวันนี้ เป็นการขยายพื้นที่ใหม่ ร่วมกับทั้ง 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 หมู่ 2 และหมู่ 7 มาผนึกกำลังร่วมกันกับ GULF CMWTE จัดกิจกรรม เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนการดูแลรักษาฟื้นฟูป่าแก้ปัญหาป่าเสื่อมโทรมของป่าไม้และไฟป่า ฯลฯ

ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้รับการส่งเสริมจาก วิทยากรจาก GULF CMWTE จัดกระบวนการร่วมกับผู้นำชุมชน (Work Shop) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหา การดำเนินงานที่ผ่านมาและปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทบทวนแนวทางการพัฒนาการทำงานที่จะก่อเกิดประสิทธิภาพ ต่อไป และ ได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการให้เป็นระบบเป็นองค์กรชุมชน และมีแผนงานจัดตั้งเป็นเรียนรู้และธานคารจุลินทรีย์ชุมชน ในปลายเดือนมกราคม 2567 จะจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชนร่วมกัน ซึ่งวันนี้ได้รับการอบรมเรียนรู้องค์ความรู้การการผลิตชีวภัณฑ์ต่างๆ และ การนำจุลินทรีย์ ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูป่า อาทิ การนำองค์ความรู้จากการวิจัยและผลงานวิชาการจากหลายสถาบันการศึกษา นำมาใช้

 

เช่น นำเชื้อราไมคอร์ไรซ่า และ เชื้อเห็ดป่า จุลินทรีย์ท้องถิ่น เช่น จุลินทรีย์จาวปลวก ไตรโคเดอร์มา มาใช้ฟื้นฟูดินจุลินทรีย์ในป่าและระบบนิเวศป่าไม้ การใช้จุลินทรีย์อีเอ็มผลิตปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมัก อีเอ็มบอล การพัฒนาปุ๋ยจากเศษอาหาร ใบไม้ เศษพืชผลทางการเกษตรมาพัฒนาคุณสมบัติทดแทนปุ๋ยเคมี ฯลฯ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพด้านการเกษตร ปุ๋ย สารไล่แมลง ชีวภาพแก้โรคพืช ต่างๆ ฯลฯ ซึ่งชุมชนจะสามารถผลิตใช้ในชุมชน และเป็นได้เอง และเป็นการพัฒนาธุรกิจชุมชน การผลิตอาหารปลอดภัย ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สร้างอาชีพแก่ชุมชน ควบคู่กับการฟื้นฟูป่าไม้ ซึ่งผู้นำในที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นแนวทางที่แก้ปัญหาการทำงาน และเป็นจะเป็นโอกาสเสริมศักยภาพในการทำงานที่เป็นระบบ มีภาคเอกชนมาหนุนเสริม มีแนวทางที่เพิ่มขึ้นในการสร้างรายได้ชุมชนโดยทรัพยากรในท้องถิ่นฯและสอดคล้องกับวิถีชุมชน เป็นต้น

 
นอกจากนั้น มีการเตรียมแผนปฏิบัติการในช่วงเดือนนี้ไปจนถึงพฤษภาคม 2568 (หน้าแล้ง) และจะเป็นช่วงเกิดไฟป่าในทุกปี ชุมชนมีแผนร่วมกับหน่วยงานภาคราชการต่างๆ เตรียมรับมือการป้องกันไฟป่า และจะมีการเริ่มนำองค์ความรู้ด้านจุลินทรีย์ไปใช้ควบคู่กันโดยจะเริ่มเปิดพื้นที่รอบๆชุมชนก่อนเป็นพื้นที่นำร่องและโดยจะติดตามผลต่อเนื่องเป็นระบบ(วิจัยโดยชุมชน) เพื่อพัฒนาแนวทางการฟื้ฟูป่า รักษาระบบนิเวศน์ให้ดีมากยิ่งขึ้น พร้อมกับการพัฒนาองค์กรศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ เพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพต่อไป

Related posts