สตูล กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น อำเภอท่าแพ ต่อยอดสินค้าชุมชนสู่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกอาหารท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่ม หลังพบปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง
ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น หมู่ที่ 1 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยชาวบานได้เข้าร่วมโครงการนวัตกรรมธนาคารปูม้าสู่การจัดการทรัพยากรชายฝั่งตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในจังหวัดสตูล โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ในการส่งเสริมอาชีพและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งที่ยังยืน
นายดาด ขุนรายา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 (ปธ.ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น) บอกว่า จุดเริ่มต้นมาจากชุมชนได้ทำธนาคารปูม้า ที่มีชาวประมงพื้นบ้าน 20 คนมาร่วมกันเป็นสมาชิก โดยทุกคนได้เล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากร ของการ ดำเนินการโครงการฯ และได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการนวัตกรรมธนาคารปูม้า สู่การพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในจังหวัดสตูล โดยมี ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการที่ได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 (ปธ.ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น) บอกด้วยว่า จากนั้นได้ทำต่อมาเรือย ๆ และมีการต่อยอดให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มจนเป็นที่มาของโครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก โดยได้เล็งเห็นว่าตลาดน่าจะไปได้เพราะขายในพื้นที่ก็ไม่เพียงพอ อีกทั้งในธรรมชาติเริ่มหาน้อยเต็มที และยังหาทานยาก โดยข้อดีของการเพาะเลี้ยงพบว่าสาหร่ายไม่มีทราย หรือเศษดินปะปน เพียงแค่นำมาล้างและรับประทานได้เลย ถ้าเป็นสาหร่ายที่ขึ้นตามธรรมชาติจะมีเม็ดทรายปะปนและมีกลิ่นคาวของน้ำ แต่การเพาะเลี้ยงลักษณะนี้รับประทานได้อย่างอร่อย สามารถมีทานได้ตลอดทั้งปี อนาคตจะต่อยอดขยายให้กับสมาชิกเพิ่มอีก ดูแล้วทิศทางเป็นไปได้
โดยวันนี้เป็นเพียงตัวอย่างก็ได้รับการตอบรับอย่างดี เชื่อว่าจะเพิ่มช่องทางรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี
นอกจากที่นี่จะศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น และเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกแล้ว ทางกลุ่มฯยังเป็นแหล่งท่องบเที่ยวชุมชนมีแพกลางน้ำของชุมชนบริหาร นักท่องเที่ยวสายแคมปิ้งในคลองทุ่งริ้น ได้ดื่มด่ำธรรมชาติ และทานอาหารทะเลสด ๆตามฤดูกาลด้วย หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที โทร 063-7302873 การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น หมู่ที่ 1 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ ได้เพาะเลี้ยงจำนวน 10 ตะกร้า โดยใช้ออกซิเจนในการดูแลสาหร่ายอยู่ภายใต้โรงเรือน สมาชิกได้กลุ่มจะได้รับการสร้างองค์ความรู้ก่อนเลี้ยง
โดยการให้ปุ๋ย วัดค่าน้ำเพียง 2 อาทิตย์ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว
ทางกลุ่มจะหมุนเวียนโดยเก็บขาย อาทิตย์ละครั้ง /เก็บครั้งละ 2 ตะกร้าได้ 1 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 200 บาท สาหร่ายขนนกนอกจากจะทานสดกับน้ำจิ้มซีฟู้ดแล้ว ยังสามารถไปปรุงเมนูยำสาหร่ายขนนก สลัดสาหร่ายขนนก ข้าวเกรียบสาหร่ายขนนกได้อีกด้วย ลักษณะเฉพาะของสาหร่ายขนนกคือ จะตายง่ายเมื่อถูกน้ำจืด จึงควรรับประทานสด ๆ ทันทีที่ขึ้นจากน้ำไม่นานเพราะจะเสียรสชาติความอร่อย
นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดสตูล