รองเลขาธิการ ศอ.บต. ศึกษาดูงานโครงการชุมพลคิช นำองค์ความรู้วางแนวทางการจัดตั้ง Food Innopolis เมืองนวัตกรรมอาหารฮาลาลแบบครบวงจรชายแดนใต้
วันนี้ (6 ต.ค. 2566) นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมคณะ เดินทางไปยังตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาดูงานโครงการ ชุมพลคิช (Chumpol kitchen) โดยจะนำองค์ความรู้จากโครงการนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการวางแนวทางการจัดตั้ง Food Innopolis เมืองนวัตกรรมอาหารฮาลาลแบบครบวงจรชายแดนใต้
สำหรับโครงการ ชุมพลคิช (Chumpol kitchen) มีเป้าหมายที่จะยกระดับ GDP เพียงร้อยละ 8 ของสินค้าเกษตร ขึ้นสู่ระดับอุตสาหกรรมอาหาร โดยจะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตอาหารให้แก่วิสาหกิจชุมชน ให้ได้มาตรฐานสากล โดยเบื้องต้นได้ใช้โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) และบริหารงานโดยวิสาหกิจชุมชนแพร่เอ็กซ์ปอร์ต และดำเนินการผลักดันให้มีการส่งเสริมการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีเชฟชุมพลฯ เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์
โดยโรงงานแห่งนี้ จะใช้ระบบหลัก ๆ ได้แก่ 1. การแช่เยือกแข็ง Air blast เริ่มกันด้วยเทคโนโลยี การเยือกแข็ง เป็นวิธีการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง โดยนำวัตถุดิบสด หรือ อาหารปรุงสุกไปลดอุณหภูมิลง ให้ต่ำกว่า-30 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำในอาหารเปลี่ยนสถานะของแข็ง ซึ่งข้อของการเยือกแข็งก็คือ จะช่วยยับยั้งไม่ให้การเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ ทำให้อาหารไม่บูดเน่า รวมถึงช่วยทำให้กลุ่มอาหารที่มีพยาธิ ก็จะสามารถกำจัดพยาธิได้ในเวลาเดียวกัน พร้อมกับสามารถเก็บเอาไว้ได้นานขึ้น รวมทั้งกระบวนการนี้ ไม่มีการลดทอนคุณค่าทางสารอาหารลงเลยแม้แต่น้อย นั่นหมายความว่าความสดของวัตถุดิบที่ยังคงอยู่เช่นเดิม และ เป็นผลเสียต่อร่างกาย 2. เทคโนโลยี Crygenic freezing เป็นการแช่อาหารแบบการแช่เยือกแข็ง โดยใช้เทคโนโลยีไครโอเจนิก ที่ใช้ไนโตรเจนเหลวจะทำให้เซลล์ของพืช กับ สัตว์ ไม่ได้รับความเสียหาย มีคุณสมบัติคงสภาพของวัตถุดิบรวมทั้งคุณค่าทางโภชนาการเอาไว้อย่างครบถ้วนด้วย ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้อาหารที่แช่เยือกแข็งมีคุณภาพที่ดี อีกทั้งการสูญเสียน้ำเมื่อนำมาหลอมละลายน้อยมาก จึงทำให้สามารถควบคุมคุณค่าทางโภชนาการและลักษณะรูปลักษณ์ของสินค้าทางเกษตรและอาหารไว้ได้อย่างเต็มที่
ในส่วนของประเภทการผลิตและความสามารถในการผลิตของโรงงาน สามารถผลิตอาหารชุดแช่เยือกแข็ง = 1 ตัน / วัน ผลิตอาหาร Retort = 500 กก. / ต่อวัน ผลิตข้าวหลามแช่เยือกแข็ง = 600 กระบอก / วัน เครื่องดื่มประเภท น้ำดื่ม น้ำผลไม้ กาแฟ คอกเทล สุราผลิตแบบขวดแก้ว 800 ใบ / ชั่วโมง เครื่องดื่มประเภท น้ำดื่ม น้ำผลไม้ กาแฟขวดpet (พลาสติก) 1,500 ใบ/ชั่วโมง เครื่องดื่มประเภท น้ำผลไม้ กาแฟแบบกระป๋อง 200 ใบ/ชม.
นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เป็นนโยบายสำคัญเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารเกี่ยวข้องกับผลผลิตทางการเกษตรและวิถีชีวิตของประชาชนที่จะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจและรายได้ที่ดีให้กับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันนี้มีเครือข่ายความร่วมมือโลกมุสลิมในหลาย ๆ ประเทศ อาทิมาเลเซียซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ หรือประเทศโลกมุสลิมอื่น ๆ และมุสลิมในประเทศ ที่มีศักยภาพอย่างเช่นประเทศจีน เป็นต้น การพัฒนาอาหารฮาลาลให้เกิดขึ้นจึงเป็นภารกิจและความตั้งใจของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนให้เป็นต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ก็ได้มีการบรรจุแผนการดำเนินการที่จะขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมในปี 2567 ที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการดังกล่าวอีกเป็นจำนวนมาก หากได้นโยบายและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ก็คิดว่าน่าจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมทั้งการแก้ไขปัญหาความยากจนตามที่ภาคประชาชนและภาคเอกชนหลายภาคส่วนมีความห่วงใยสะท้อนข้อเสนอดังกล่าวมายังรัฐบาลและรัฐบาลก็ได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่สุดเพื่อจะให้เกิดอุตสาหกรรมเช่นนี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลตั้งใจให้เป็นของขวัญ จากการรอคอยที่มีมาอย่างช้านานวันนี้ก็จะสามารถเห็นผลเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวทางการบริหารและโจทก์ที่ต้องการให้เกิดผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารฮาลาลจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศโลกมุสลิมทั่วโลกได้