เปิดศูนย์เรียนรู้ขนมซั้งและหมู่บ้านวัฒนธรรมขนมซั้งมงคลที่ ต.บางเหรียง หลายหน่วยงานร่วมกันผลักดัน
เอวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา ณ ศูนย์เรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา นายวินิจ เทพมิต นายอำเภอควนเนียง จ.สงขลา เป็นประธานในการเปิดงาน “ศูนย์เรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียงและหมู่บ้านวัฒนธรรมขนมซั้งมงคล 100 ปี และการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาและผู้สืบสานภูมิปัญหา โดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุน อาทิ สมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จ.สงขลา สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์จังหวัดสงขลา สโมสรไลอ้อนส์ฮาโมนี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสงขลา และหน่วยงานในท้องถิ่น รวมทั้งประชาชนเป็นจำนวนมากซึ่งในงานครั้งนี้ มีการนำสินค้าที่เป็นผลิตผล ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่มาจำหน่ายและที่เป็น “ไฮไลต์” ของงานคือ”ขนมซั้ง” ซึ่งเป็นขนมเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงและมีประชาชนในพื้นที่ยึดเป็นอาชีพมานับ 100 ปี จนเป็นที่รู้จักกันของคนใน จ.สงขลา รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน
โดย ผศ.ดวงฤดี อุทัยหอม รองเลขานุการสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติประจำจังหวัดสงขลา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียง ได้กล่าวว่า ได้เข้ามาดำเนินการในพื้นที่ต.บางเหรียงเพื่อการเพื่อเปิดศูนย์เรียนรู้ขนมซั้ง ซึ่งเป็นขนมมงคล เกี่ยวกับการไหว้เจ้าของคนจีน ซึ่งในแต่งปีจะมีเทศกาล”สาร์ทจีน” ไหวขนมซั้ง ( กีจั้ง ) และประชาชนในชุมชมบางเหรียง ก็ยึดอาชีพในการทำขนมซั้งขายตลอดทั้งปี ซึ่งในอดีตคนในหมู่บ้านที่มีอาชีพ ทำขนมซั้งจะเดินทางโดยรถไฟจาก สถานีเกาะใหญ่ อ.ควนเนียง จ.ส่งนำขนมซั่งมาขายที่ ตลาดหาดใหญ่ โดยยึดเป็นอาชีพ ที่สร้างรายได้มานับ 100 ปี
ดังนั้นจึงได้เข้ามาต่อยอดในอาชีพการทำขนมซั้ง ซึ่งเป็นอาชีพที่เป็นภูมิปัญหาของคนในพื้น เพราะขบวนการทำขนมซั้ง เริ่มตั้งแต่เรื่องของการทำเชือกเพื่อมัดขนมซั้ง ที่ทำมาจากใบเตย โดยต้นเตยที่ใช้ในการทำเชือกก็อยู่ในพื้นที่ การเก็บใบไผ่เพื่อให้ห่อขนมซั้งก็เก็บจากพื้นที่ การทำน้ำด่างหาที่เป็นส่วนผสมของขนมซั้งก็ทำในพื้นที่ และการหาฟืนเพื่อใช้ในการต้นขนมซั้ง ก็หาในพื้นที่ ฉะนั้นการทำขนมซั้งจึงเป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ในหลายช่องทางของคนในพื้นที่ ซึ่งการเข้ามาส่งเสริมในครั้งนี้เพื่อให้ขบวนการสร้างอาชีพการทำขนมซั้งที่ดีอยู่แล้ว ดีกว่าเดิมและให้กว้างขวางเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น และสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ยึดอาชีพทำขนมซั้งให้มั่นคงมีรายได้มากขึ้น และการเปิดศูนย์เรียนรู้ขนมซั้งและหมู่บ้านบ้านวัฒนธรรมขนมซั้ง ก็เป็นการส่งเสริมภูมิปัญหาชาวบ้านส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงามทั้งความรัก สามัคคี เป็นความมั่นคงและเป็นสถานที่เรียนรู้ในเรื่องขบวนการที่มาของ ขนมซั้ง ซึ่งในการเปิดศูนย์เรียนรู้ครั้งนี้ ได้มีการมอบเกียรติบัตรให้กับผู้อาวุโส ผู้ที่สืบสานภูมิปัญหาขนมซั้ง ให้กับบุคคลต่างๆในพื้นที่โดยนายอำเภอควนเนียง เป็นประธานในการมอบ