คณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดินด้านการจัดการภัยพิบัติระดับชาติ ในคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภาลงพื้นที่จังหวัดน่านติดตามความคืบหน้าในการบริหารจัดการน้ำ

คณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดินด้านการจัดการภัยพิบัติระดับชาติ ในคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภาลงพื้นที่จังหวัดน่านติดตามความคืบหน้าในการบริหารจัดการน้ำ

 


เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมเจ้ามหาพรหมสุรธาดา ชั้น 6 ศาลากลางจังหวัดน่าน นายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดินด้านการจัดการภัยพิบัติระดับชาติ ในคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดินวุฒิสภา โดยมีนายเศรณี อนิลบล โฆษกคณะกรรมาธิการ เป็นประธานในการประชุมดังกล่าว โดยคณะได้มาติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการงานวิจัยการจัดการน้ำเชิงพื้นที่ โดยสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นโครงการชลประทานน่านได้รายงานถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดน่าน พร้อมทั้งทางสนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่านได้เสนอการถอดบทเรียนจากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2567และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในอนาคตและแนวทางการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติในปี 2567

ด้านสทนช.ภาค 1 โดยสำนักงานจังหวัดน่าน โครงการชลประทาน และสนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่านได้รายงานแผนงานน้ำท่วมน้ำแล้ง ลุ่มน้ำน่าน โดยได้สรุปสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่จังหวัดน่าน ดังนี้ สถานการณ์จากร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ โดยเมื่อวันที่ 20 – 23 สิงหาคม 2567 พื้นที่จังหวัดน่าน มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ห้วงเวลาประมาณ 03.00 น. ได้เกิดอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำลันตลิ่ง

 

โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 14 อำเภอ สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติและอยู่ในระยะของการช่วยเหลือฟื้นฟูเปรียบเทียบปริมาณมวลน้ำสถานการณ์อุทภภัยเขตพื้นที่เทศบาลเมืองน่านจุดสูงสุดของสถานี N1บริเวณหน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมืองน่าน ระหว่างปี 2549 กับปี 2567 ระดับน้ำ ณสถานี N1 บริเวณหน้าสำนักงานป่าไม้ปี2567 สูงกว่า ปี 2549 จำนวน 0.29 ม. โดยสรุปความเสียหายและได้รับผลกระทบ พื้นที่และจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 14 อำเภอ 82 ตำบล 670 หมู่บ้านผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 32,434 ครัวเรือน 134,472 คน (ผู้เสียชีวิต จำนวน 3 ราย) สิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับความเสียหาย (ถนน 205 สาย/ฝ่ายอ่างเก็บน้ำ 54 แห่ง/สะพานและคอสะพานชำรุด 39 แห่ง/ตลิ่งพนังกันน้ำ และลำเหมือง 46 แห่ง/โรงเรียนสถานศึกษา 10 แห่ง/ วัด 10 แห่ง/สถานที่ราชการ 6 แห่ง)

สรุปความยอดเสียหายจากการสำรวจในเบื้องต้น จำนวน 71,169,000 บาทโดยแยกพื้นที่โซนอำเภอที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยการให้ความช่วยเหลือจังหวัดน่านจัดสรรวงเงินเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินให้อำเภอจากเดิมวงเงินอำเภอละ 300,000 บาท เพิ่มวงเงินเป็นอำเภอละ 500,000 บาท ด้วยการให้ความช่วยเหลือกรณีผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์อุทกภัย ฯ จังหวัดน่านจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือจากเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป ด้วยการช่วยเหลือด้านถุงยังชีพ รวมจำนวน 19,915 ชุด โดยจังหวัดได้การช่วยเหลือด้านเครื่องจักรกลสาธารณภัย

(1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนอากาศยานปีกหมุนในการสำรวจพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

(2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มอบหมายศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 10 ลำปาง ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดน่านประกอบด้วยรถบรรทุกพร้อมเรือยนต์เคลื่อนที่เร็ว จำนวน 1 ชุด/เรือท้องแบนกู้ภัย จำนวน 4 ลำ/รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย จำนวน 8 คัน/รถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ ขนาด 12,000 ลิตร จำนวน 1 คัน/รถสูบส่งน้ำระยะไกล 3 คัน/รถยนต์ผลิตน้ำดื่ม 1 คัน

(3) มูลนิธิกู้ภัยเพชรเกษม/ มูลนิธิร่วมกตัญญู/ มูลนิธิสว่างรวมใจ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยนำทรัพยากรเข้าช่วยเหลือประชาชน ดังนี้ รถยนต์เคลื่อนที่เร็ว/รถบรรทุก /เรือท้องแบนพร้อมเครื่อง/รถยนต์ประกอบอาหาร

(4) จัดกิจกรรม “รวมพลังช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดน่าน” โดยระดมสรรพกำลังบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณกุศล และประชาชนจิตอาสานำวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัย เข้าช่วยเหลือประชาชน และทำความสะอาดชำระล้างถนนสายหลัก ถนนสายรอง และสถานที่ราชการในพื้นที่เทศบาลเมืองน่านโดยดำเนินการ ในวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2567 หลังจากนั้นคณะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมตอบข้อชักถาม เพื่อนำข้อเสนอแนะเพื่อนำไปรายงานต่อไป

โดยในช่วงบ่ายคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภาเดินทางไปยังที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก โดยมีนายนพพร เรืองสว่าง นายอำเภอเมืองน่าน ให้การต้อนรับพร้อมได้มีนำเสนอการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตำบลบ่อสวก แนวทางและความก้าว หน้าการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์โดยการหน่วง ดัก กัก ชะลอน้ำด้วยนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์คือการสร้างฝายที่ใช้ต้นทุนน้อยใช้เวลาสร้างน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยการบดอัดดินผสมซีเมนต์เพื่อหน่วงน้ำไว้ในดิน โดยการขุดแกนฝายและเพิ่มความแข็งแรงด้วยหูฝายที่ขุดลึกเข้าตลิ่งทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการเบรกน้ำเกิดน้ำหลากมาในปริมาณที่มากและเร็วเกินไปและจะทำให้มีน้ำมีเวลาซึมลงในดินบริเวณรอบฝายได้ดียื่งขึ้นความคาดหวังและความเปลี่ยนแปลง หลังการมีฝายแกนดินซีเมนต์ ก่อนสร้าง ฤดูฝน น้ำท่วม/น้ำป่าไหลหลากมาไวไปไว

เก็บน้ำไม่ได้เหลือไว้แต่ความเสียหาย ฤดูแล้ง ขาดแคลนน้ำสำหรับการ เกษตรทำนาได้ปีละครั้ง น้ำอุปโภค/บริโภคไม่เพียงพอ ระดับน้ำใต้ดินลดลง หลังสร้างพื้นที่ต้นน้ำเกิดความชุ่มชื้นกลับมา ลดปัญหาหมอกควันและไฟป่า ช่วยชะลอน้ำป่า ลดความเสียหายจากน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ตำบลบ่อสวกต.นาชาวซึ่งเป็นตำบลรับน้ำ พื้นที่การเกษตร หลังมีฝายสามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรหลังฤดูทำนาได้ เกษตรกรมีช่องทางเลือกในการประกอบอาชีพทางการเกษตร เกิดเกษตรผสมผสานที่มีการลดการใช้สารเคมี สุขภาพประชาชนก็จะดีตาม และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพิ่มรายได้ จากภาคการเกษตร (ประสิทธิภาพ+ประสิทธิผล) เพิ่มขึ้นจากการมีปัจจัยการผลิตด้านน้ำที่เพียงพอและเหมาะสม โดยเกิดข้อตกลงในการใช้น้ำร่วมกัน เกิดกระบวนการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า โดยเพิ่มต้นทุนน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค ลดปัญหาขาดแคลนน้ำกิน/ใช้ ในช่วงฤดูแล้งและช่วยลดปัญหาน้ำท่วมในตัวเมืองน่าน

 

/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน/วิสุทธิ์ ศรีเมือง โอ๋ ปรันต์ รายงาน

Related posts