จังหวัดน่านจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการมหาดไทยสีขาว สร้างพื้นที่ปลอดภัย หยุดยั้งยาเสพติด (Safe Zone No Drugs) ระหว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัด กับ ส่วนราชการ/หน่วยงาน
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ณ ศาลากลางจังหวัดน่าน ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่านนายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธี
ด้วยกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง ได้จัดทำโครงการมหาดไทยสีขาวสร้างพื้นที่ปลอดภัย หยุดยั้งยาเสพติด (Safe Zone No Drugs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันมีให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และบุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในทุกรูปแบบ โดยการลดจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และผู้เสพหน้าใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน ที่อยู่ในระบบการศึกษา ซึ่งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ กับส่วนราชการทุกภาคส่วน รวมทั้งสถานศึกษา โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ฯลฯ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ระหว่าง กระทรวงมหาดไทยกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เมื่อวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อแสดงเจตจำนงร่วมมือกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อให้การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้อย่างเป็กระทรวงมหาดไทย จึงมีข้อสั่งการให้ทุกจังหวัด จัดทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และบุคลากรของหน่วยงานรัฐ ใน 4 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับองค์กร ครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาดังนั้น
ทั้งนี้จังหวัดจึงจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระดับจังหวัด ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับหัวหน้าส่วนราชการ/หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัด ผู้บริหารสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา และนายอำเภอ ทุกอำเภอ เพื่อที่จะได้บูรณาการความร่วมมือในการป้องกัน/แก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความตระหนักต่อโทษภัยของยาเสพติด และรู้จักการปฏิเสธการใช้ยาเสพติดของบุคลากร รวมถึงร่วมกันรักษาภาพลักษณ์หน่วยงานของรัฐ ให้เป็นองค์กรสีขาวปลอดยาเสพติด ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดน่านกล่าวปัญหายาเสพติดเป็นภัยอันตราย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ที่บั่นทอนเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สำคัญ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยใช้มาตรการป้องกัน ปราบปราม บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพทางสังคม ให้ครอบคลุมทุกมิติ
และประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ การสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือในหน่วยงานราชการของรัฐทุกประเภท เพื่อป้องกันยาเสพติดของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และบุคลากรของหน่วยงานรัฐ ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่ารูปแบบใด จังหวัดน่านจึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ขึ้น โดยมีเจตจำนงร่วมมือกันดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้
1. กำหนดมาตรการ แนวทางการปฏิบัติงานให้หน่วยงานในสังกัดร่วมดำเนินการ เพื่อผลักดันการสร้างภูมิคุ้มกัน และการป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในทุกมิติ
2. สร้างความตระหนักต่อโทษภัยของยาเสพติด และการปฏิเสธการใช้ยาเสพติดให้แก่บุคลากร
3. สร้างการมีส่วนร่วมภายในองค์กร โดยหัวหน้าส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ ดำเนินการมาตรการป้องกันยาเสพติด โดยประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และบุคลากรในสังกัดยินยอมและสมัครใจเข้ารับการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ โดยปราศจากการบังคับตามกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนเองและครอบครัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด หรืออบายมุขต่าง ๆ รวมถึงรักษาภาพลักษณ์ของหน่วยงานของรัฐเป็นองค์กรสีขาวปลอดยาเสพติด
4. กำหนดมาตรการ กรณีตรวจพบ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และบุคลากรของหน่วยงานรัฐ มีสารเสพติดในร่างกาย ให้หัวหน้าส่วนราชการ/ต้นสังกัด พิจารณากำหนดโทษ จากโทษสถานเบาไปหาโทษสถานหนัก ดังน 4.1 สมัครใจและยินยอมเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในระบบของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้โอกาสผู้นั้นเข้ารับการบำบัดรักษาฯ ตามหลักนโยบาย “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย”
4.2 กำหนดมาตรการเพิ่มเติม เพื่อควบคุมพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดในระหว่างเข้ารับการบำบัดรักษาฯและให้คำแนะนำ หรือความต้องการช่วยเหลือเพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้เลิกพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
4.3 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาของการบำบัดรักษาแล้ว หรือระยะเวลาที่ตกลงร่วมกัน หากผู้นั้นยังไม่เลิกพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด หรือไม่สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาฯ หลบหนีการบำบัดรักษา หรือกระทำการใด ๆ กรณีเป็นข้าราชการให้ดำเนินการลงโทษทางวินัยและดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สำหรับบุคลากรที่มิใช่ข้าราชการให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท
5. ผลักดันให้สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีระบบการเฝ้าระวังสอดส่อง จัดให้มีระบบการคัดกรอง และประเมินความรุนแรงของการติดยาเสพติด โดยร่วมกับ สหวิชาชีพและผู้ปกครอง เพื่อวางแผนการบำบัดฟื้นฟูโดยข้อมูลการบำบัดฟื้นฟูของนักเรียนจะต้องเป็นความลับ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็ก และครอบครัวเป็นสำคัญ
6. สนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ในสังคม เพื่อให้บริเวณรอบสถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติด และอบายมุข อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นแล้ว ทุกส่วนราชการ/หน่วยงานภาครัฐจะร่วมมือกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบทุกรูปแบบ เพื่อให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล ต่อไป
/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน