น่าน-สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เปิดโครงการยกระดับองค์ความรู้สำหรับเด็กและเยาชน เพื่อการตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพ ในพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 ห้องเรียนสู้ฝุ่น สู่ฝัน
ที่โรงแรมอูปแก้วรีสอร์ท อำเภอปัว จังหวัดน่าน นายศราวุธ พุฒตรง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิด โครงการ ยกระดับองค์ความรู้สำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อการตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพ จาก“ห้องเรียนสู้ฝุ่น สู่ฝัน “ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านและสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาน่านเขต 2 ได้เปิดโครงการ เพื่อยกระดับองค์ความรู้สำหรับเด็กและเยาชในพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กสู่นโยบายสาธารณะ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)ได้จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อการตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพ ในพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กสู่นโยบายสาธารณะ สร้างโรงเรียนหรือสถานศึกษาต้นแบบการรับมือกับฝุ่น PM2.5 ผ่านองค์ความรู้และข้อมูลวิทยาศาสตร์มีระบบข้อมูลองค์ความรู้ นวัตกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5
และชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตร สำหรับใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนหรือสถานศึกษากับภาคีเครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ด้วยตนเอง และสามารถสื่อสารเรื่องภัยฝุ่น PM2.5 ส่งต่อไป ยังครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ หลังมีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่า PM 2.5 สามารถสะสมในถุงลมฝอยของปอด และสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสโลหิต และกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งได้กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 5 ของประชากรโลกในปี 2558 นอกจากนี้ปี 2559 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ 7 ล้านคน เกิดจากมลพิษจากอากาศภายนอกอาคาร (Ambient Air) 4.2 ล้านคน โดยร้อยละ 91 เกิดในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก สำหรับในประเทศไทยมีการรายงานการพบความเชื่อมโยงการได้รับสัมผัส PM2.5 และผลกระทบต่อการตายก่อนวัยอันควร โดยกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ
ทางด้าน นายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้กล่าวว่า เพื่อเป็นการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยงอย่างกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาศัยในพื้นที่มีการพบการเผาเป็นปริมาณมาก ตลอดจนพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาหมอกควันข้ามแดนอยู่ประจำ ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายอันส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ จึงเป็นที่มาของโครงการ “สร้างองค์ความรู้สำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อการตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5” ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบค่าฝุ่นละออง เกินค่ามาตราฐานเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วย โรงเรียนในพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร รวมถึงโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่รอยต่อชายแดนระหว่างประเทศ ได้แก่ ไทย-ลาว ซึ่งต่างก็ถือว่าเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่วิกฤต การดำเนินการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในมาตรการในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 มาตรการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ จิตสำนึกที่ดีเพื่อให้เกิดการนำไปสู่ความผาสุกและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป/ภาพข่าว สมาน สุทำแปง
/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน/ชาตรี ทำงาม รายงาน