จาก”อควาเรี่ยม หอยสังข์”ไปยัง”หอชมเมืองระโนด”สู่ “พิพิธภัณฑ์คาบสมุทรสทิงพระ”อย่าให้เกิดความ”สูญเปล่า” ของ”ภาษีประชาชน

จาก”อควาเรี่ยม หอยสังข์”ไปยัง”หอชมเมืองระโนด”สู่ “พิพิธภัณฑ์คาบสมุทรสทิงพระ”อย่าให้เกิดความ”สูญเปล่า” ของ”ภาษีประชาชน


หลายวันก่อน มีการจัดเวทีรับฟังความเห็นของ ประชาชน ใน”คาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งหมายถึง อ.สิงหนคร,สทิงพระ,กระแสสินธุ์” และ”ระโนด ในโครงการก่อสร้าง”พิพิธภัณฑ์คาบสุทรสทิงพระ” ที่เป็นโครงการของ” องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา” ณ ห้องประชุมโรงแรมเดอะเบด เวเคชั่น อ.เมืองสงขลา มีผู้เข้าร่วมเวทีเพื่อรับฟัง รายละเอียดของโครงการจาก “บริบัท ซี.ซี.ดับบลิว จำกัด” ซึ่งเป็นที่ปรึกษาออกแบบการก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยมีการ”จ่ายเงิน” เป็น”ค่าตอบแทน” ผู้เข้าร่วมเวทีคนละ 300 บาท


โครงการการก่อสร้าง”พิพิธภัณฑ์คาบสมุทรสทิงพระ” เจ้าของโครงการให้รายละเอียดว่า เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทาง”ประวัตศาสตร์, วัฒนธรรม, โบราณคดี “ เพื่อเผยแพร่ให้กับชาวสงขลา และนักท่องเที่ยวในประเทศ-ต่างประเทศ และ สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยให้งบประมาณ 380 ล้านบาท ก่อสร้างในพื้นที่ 8.5 ไร่ หลัง ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา ซึ่งแน่นอนว่า โครงการนี้ มีทั้งผู้ที่”เห็นด้วย” และผู้ที่”คัดค้าน “เช่นเดียวกับทุกโครงการที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่”เจ้าของโครงการ”ต้องการใช้”งบประมาณ” ส่วนสร้างให้แล้วเสร็จ แต่จะ”ตอบโจทย์” กับสิ่งที่ได้สร้าง ตามที่เขียนในโครงการหรือไม่ ล้วนเป็นเรื่องของ”อนาคต”


ก็เข้าใจถึงวัตถุประสงค์อัน”งดงาม” ของ เจ้าของโครงการ และไม่”ปฏิเสธ” ว่าคาบสมุทรสทิงพระ มีเรื่องราวของ”ประวัติศาสตร์.วัฒนธรรม” ที่ควรแก่การ”รับรู้” และ”อนุรักษ์” เพื่อให้รู้ถึง”รากเหง้า”หรือ”ที่มาของ”คาบสมุทรสทิงพระ ซึ่ง มีการรวมรวมอยู่ใน”พิพิธภัณฑ์” หลายแห่งใน จ.สงขลา ที่อาจจะไม่”เต็มเม็ดเต็มหน่วย” แต่ก็มีให้ได้”ศึกษาเรียนรู้” เช่นเดียวกับงานที่”วิชาการ” และงาน”วิจัย” เป็น จำนวนมากของ “มหาวิทยาลัย”ต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา ทั้งในเรื่องของ”โหนด-นา-เล “ และ อื่นๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ”ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” จึงถามว่ามีความ”จำเป็น” หรือไม่กับการสร้าง”พิพิธภัณฑ์คาบสมุทรสทิงพระ”แห่งนี้ และ หลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ” จะได้รับประโยชน์ตามที่เขียนไว้ในโครงการหรือไม่ อย่างไร


ยกตัวอย่างของ”พิพิธภัณฑ์ระโนด” หรือ”หอชมเมืองระโนด” ที่ อดีต สส.ถาวร เสนเนียม เป็นผู้ให้งบประมาณ เพื่อการก่อสร้าง ซึ่งมี วัตถุประสงค์ ที่ไม่ต่างกันกับ”พิพิธภัณฑ์คาบสมุทรสทิงพระ” ที่ กำลังมีการ”ขับเคลื่อน” อยู่ในขณะนี้ และสุดท้าย “พิพิธภัณฑ์ระโนด”หรือ”หอชมเมืองระโนด” ก็ถูกปล่อยให้”ทรุดโทรม” จำนวนผู้ไปใช้ชม ไปเที่ยว “หรอมแหรม” นักท่องเที่ยวไม่สนใจ มีเพียง”นักเรียน” ที่ โรงเรียน” จัดไป”ทัศนศึกษา” บ้าง แต่ก็ เล็กน้อย ไม่เป็นไปตาม”เป้าประสงค์” ที่สำคัญคือการสร้างเสร็จแล้ว ขาดการดูแล”เอาใจใส่” จาก หน่วยงานที่รับผิดชอบ อ้าง”บุคลากรไม่พอ งบประมาณไม่มี”
และมาดูเรื่องของ”อควาเรี่ยม หอยสังข์” ที่เชิง”สะพานติณสูลานนท์สงขลา” ซึ่งในตอนเสนอโครงการ บอกว่าเป็นประโยชน์มากกมาย ทั้งการศึกษา ศูนย์เรียนรู้ และ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แต่สุดท้ายก่อสร้างไม่เสร็จถูก”ทิ้งร้าง” กลายเป็น”สถาปัตยกรรมแห่งความอัปยศ” ที่”ชาวสงขลา” ต้อง”แบกรับ” เป็นการ”ผลาญงบประมาณ” จำนวน 1,400 ล้าน โดย”สูญเปล่า”


และ ยังมีอีก”มากมาย”หลายโครงการ ที่มีการก่อสร้างแล้ว และไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือ”ไม่คุ้ม” กับ”เม็ดเงิน” ที่เป็น”ภาษีของประชาชน” เช่น “ศูนย์โอท็อป” ที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ศูนย์โอท็อป ที่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง ซึ่งเป็น ผลงานที่ถูก”ทิ้งร้าง” ของ อบจ. ที่กลายเป็นที่อยู่ของ”สัตว์เลี้ยง” และคน”ร่อนเร่ “
ไม่ได้ บอกว่า”พิพิธภัณฑ์คาบสมุทรสทิงพระ” ไม่ดี และไม่ควรสร้าง แต่ขอให้ เจ้าของโครงการ อย่างมองเพียง”มิติเดียว” คือ”มิติ”ของการใช้”งบประมาณ” แต่ให้มองถึง”ประโยชน์” ที่ได้รับ “มองถึงความ”คุ้มค่า” และ”มองถึง”อนาคต” หลังจากที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ และที่สำคัญ วันนี้คนใน”คาบสมุทรสทิงพระ” เขาเดือดร้อน” เขา “ขาดแคลน “ ในเรื่องอะไรที่เป็นเรื่อง”เร่งด่วน” และ”มีความสำคัญ” กว่าการใช้งบประมาณ 400 ล้าน เพื่อใช้สร้าง”พิพิธภัณฑ์คาบสมุทรสทิงพระ” หรือไม่ ประเด็นนี้ อบจ. และ คนใน”คาบสมุทรสทิงพระ” ไม่ควรมองข้าม


สุดท้าย การเปิดเวที”รับฟังความคิดเห็น” ต้องมีความ”โปร่งใส” โดยรับฟังความคิดเห็น”กลุ่มย่อย” ในพื้นที่ให้มาก และไม่ควรมีเรื่อง”ค่าจ้าง” ให้มาร่วมเวที เพราะคนที่ได้รับ”ค่าจ้าง” จะไม่แสดงความคิดเห็นที่”คัดค้าน” กับ เจ้าของโครงการ ที่เป็นผู้”จ้าง” ให้มาร่วมเวที
บทความนี้ เป็นเสียงสะท้อน จากกลุ่มคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเจ้าของภาษี ที่เป็นเงิน 400 ล้าน ที่ อบจ.สงขลา จะใช้ในการก่อสร้าง”พิพิธภัณฑ์คาบสมุทรสทิงพระ” ต้องการ”สะท้อน” ให้กับ “อบจ.สงขลา ได้ใช้ความ”รอบคอบ” กับการใช้เงิน”งบประมาณ” ในทุกโครงการ เพื่อให้”เม็ดเงิน” ทุกบาททุกสตางค์ มีความ”คุ้มค่า” ที่สุด เพราะการใช้”งบประมาณ”โดยการ”ทุจริต” ยังสามารถนำผู้”ทุจริต” เข้า”คุกเข้าตะราง”ได้ แต่การใช้”งบประมาณ”โดย”สุจริต” แต่”สูญเปล่า” เป็นเรื่องของความ”ชั่วร้าย” ยิ่งกว่าการ”ทุจริต” มากนัก

เมือง ไม้ขม

Related posts